เชียงใหม่-ไฟป่ากับค่า PM 2.5 ไมครอน

ภัยพิบัติที่สำคัญที่ทำให้ฝุ่นปกคลุมทั่วน่านฟ้าของเชียงใหม่และหลายๆ จังหวัดบริเวณภาคเหนือ เกิดจากปัญหาการเผาไหม้จนก่อให้เกิดเป็นไฟป่าหลายจุดในพื้นที่เชียงใหม่ ล่าสุด (24 มีนาคม) บริเวณป่าดอยสุเทพ-ปุย และด้านฝั่งทิศใต้ พบเหตุไฟไหม้ป่า และบริเวณหลังวัดพระธาตุดอยคำ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยเพลิงได้ลุกไหม้อย่างรุนแรงเป็นบริเวณกว้างเจ้าหน้าที่นำกำลังเข้าดับไฟอย่างเร่งด่วน แต่ยังไม่สามารถคุมเพลิงได้แม้ว่าจุดความร้อนที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่จะลดลงไปจำนวนมาก แต่พื้นที่ป่าที่ยังคงไหม้อยู่ส่วนใหญ่อยู่บนพื้นที่สูงชันและเหวลึก ทางจังหวัดเชียงใหม่จึงได้ส่งอากาศยานบินทิ้งน้ำดับไฟในพื้นที่ดอยหลวงเชียงดาว และพื้นที่อำเภอแม่แตงอย่างต่อเนื่อง

https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_3830753

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA (จิสด้า) ได้ใช้ดาวเทียม Sentinal-2 วันที่ 25 มีนาคม 2563 และวันที่ 30 มีนาคม 2563 ติดตามสถานการณ์ไฟป่าเชียงใหม่ และแสดงภาพพื้นที่เผาไหม้บรเวณดังกล่าว ซึ่งทำให้น่านฟ้าบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ตกอยู่ในวงแหวนแห่งไฟ พบจุดฮอตสปอต 683 จุด ส่งผลให้ค่าฝุ่น PM 2.5 เชียงใหม่อ่วมหนัก ซึ่งค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ในตัวเมืองพุ่งขึ้นถึง 357 ไมโครกรัมฯ อ.เชียงดาว สูงสุดถึง 535 ไมโครกรัมสูงขึ้นทุกๆวัน โดยในเมืองเชียงใหม่มองจากตัวเมืองไ ปยังดอยสุเทพไม่เห็น และเมื่อมองจากจุดชมวิวดอยสุเทพลงมาเห็นตัวเมืองลางเลือนถูกหมอกควันปกคลุมขาวโพลน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นชาวเชียงใหม่ต้องใช้หน้ากากอนามัยสวมตลอดเวลาที่ออกจากบ้าน และจะมีอาการแสบตากันจำนวนมาก โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เกิดไฟป่าเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พื้นที่ป่าสงวนฯ และพื้นที่เกษตร

http://fire.gistda.or.th/

นอกจากนี้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA (จิสด้า)ได้ทำการวิเคราะห์พบจุดความร้อนและดัชนีค่า PM 2.5 จากข้อมูลดาวเทียมระบบ MODIS และ NPP บริเวณจังหวัดเชียงใหม่และหลายๆจังหวัดภาคเหนือโดยเพราะในวันที่ 12 เมษายน 2563 ยังคงมีจุดความร้อนเพิ่มขึ้นและดัชนีค่า PM 2.5 ไมครอน โดยแสดงในรูปแสดงแผนที่ จุดความร้อนและดัชนีค่า PM 2.5