Skip to content
GMOS Logo GMOS Logo
  • หน้าหลักHome
  • mapMap
  • วิเคราะห์ข้อมูลDashboard
    • วิเคราะห์ข้อมูลภาพรวม
    • วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก
  • บริการและเผยแพร่Service and publish
    • ภัยพิบัติ
    • เกษตร
    • ป่าไม้
    • ทะเลและชายฝั่ง
    • สังคมและวัฒนธรรม
  • เกี่ยวกับเราAbout Us
  • ติดต่อเราContact Us
  • เข้าสู่ระบบSign In

ทะเลและชายฝั่ง

ทะเลและชายฝั่งRachchanon2019-07-12T14:04:11+07:00
  • รายงานประจำปี

  • โปสเตอร์

  • เซอร์วิส

  • แอปพลิเคชั่น

  • วิจัยและอื่นๆ

  • รายงานประจำปี

  • โปสเตอร์

  • เซอร์วิส

Web Map Services of GFMS

Web Map Service จาก Geoserver

จุดเหตุการณ์ทางด้านป่าไม้จากแหล่งข่าว

จุดเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าจากการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม

จุดสำรวจภาคสนาม

  • แอปพลิเคชั่น

ระบบตรวจวัดคลื่นและกระแสน้ำทะเลด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง

  • วิจัยและอื่นๆ

เร็วๆ นี้

ติดต่อเรา

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
สำนักงานใหญ่ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เลขที่ 120
อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 6 และชั้น 7 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
สำนักประยุกต์และบริการภูมิสารสนเทศ
02-141-4554
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ
02-141-4536
ฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติ
02-141-4534
ฝ่ายเศรษฐกิจ
02-141-4553
ฝ่ายบริการผลิตภัณฑ์
02-141-4569
ฝ่ายความมั่นคงทางสังคม
02-141-4570
งานบริหารทั่วไป
02-141-4546

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการติดตามมลพิษทางทะเล กรณีน้ำมันรั่วบริเวณปากแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสาคร

ปีที่พิมพ์: 2558

การนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศซึ่งประกอบด้วย การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) การติดตาม ตำแหน่ง (Global Positioning System) และ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ (GIS) มาประยุกต์ใช้ในการติดตามมลพิษทาง ทะเล ในบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการหาตำแหน่งเริ่มต้นของคราบน้ำมันที่รั่วไหลด้วย วิธีการตรวจสอบย้อนกลับ (Backtracking Trajectory) โดยการวิเคราะห์นี้ได้ใช้ข้อมูลจากระบบสำรวจระยะไกล อาทิ ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม RADARSAT-2, ข้อมูลจากระบบตรวจวัดคลื่นและกระแสน้ำด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง หรือ ระบบเรดาร์ชายฝั่ง (Coastal radar) ที่ติดตั้งในอ่าวไทย ร่วมกับการวิเคราะห์ด้วยระบบประมวลผลเชิงพื้นที่และ ข้อมูลภาคสนาม ซึ่งผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีการตรวจสอบย้อนกลับ (Backtracking Trajectory) เพื่อติดตามการ เคลื่อนที่ของคราบน้ำมัน (Oil spill trajectory) ในเส้นทางการเคลื่อนที่ของมวลน้ำมันในบริเวณที่ศึกษา พบว่า แหล่งกำเนิดของคราบน้ำมันมาจากทางเหนือขึ้นไปจนถึงบริเวณปากแม่น้ำแม่กลอง ทั้งนี้ได้ทำการตรวจสอบความ ถูกต้องของผลการวิเคราะห์ เพื่อยืนยันตำแหน่งที่มาของคราบน้ำมัน และ ลักษณะการแพร่กระจายของคราบน้ำมัน ด้วยข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม RADARSAT-2 ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีคราบน้ำมันลอยอยู่ผิวน้ำทะเลเป็น พื้นที่ ประมาณ 111 ตารางกิโลเมตร และพบว่าตำแหน่งเริ่มต้นของน้ำมันเริ่มต้นมาจากบริเวณปากแม่น้ำแม่กลอง อ. เมือง จ.สมุทรสงคราม เช่นเดียวกับผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีการตรวจสอบย้อนกลับ (Backtracking Trajectory) นอกจากนั้นได้ทำการตรวจสอบยืนยันอีกครั้งกับข้อมูลภาคสนามว่าคราบน้ำมันที่พบจากข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม มีทิศทางไปชายหาดเขาตะเกียบ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตามที่ได้รับรายงานจากหน่วยงานในพื้นที่หรือไม่ โดยทำการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของคราบน้ำมัน (Prediction Trajectory) จากระบบเรดาร์ชายฝั่ง พบว่าทิศทางการ เคลื่อนที่ของคราบน้ำมันจากบริเวณปากแม่น้ำแม่กลองมีทิศทางลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ขนานกับชายฝั่ง ด้วย ความเร็ว 0.7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไปทางชายหาด อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จึงสามารถสรุปได้ว่าคราบน้ำมันที่มาขึ้น ที่ชายหาดเขาตะเกียบ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 27 ตุลาคม 2558 มีความเป็นไปได้ที่จะมีจุดเริ่มต้นบริเวณ ปากแม่น้ำแม่กลอง โดยคาดว่าน้ำมันเริ่มรั่วไหลตั้งแต่ช่วงวันที่ 23 – 24 ตุลาคม 2558 ซึ่งจากผลการศึกษานี้หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลอื่นๆ เช่น ระบบติดตามเรือ ก็สามารถพัฒนาไปสู่ระบบการบริหาร จัดการมลพิษทางทะเลกรณีน้ำมันรั่วไหลของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Download

บูรณาการเครื่องมือ แผนที่ และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชนด้านการบริหารจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อม พื้นที่ ตำบลบางตะบูน ตำบลบางตะบูนออก และ ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

เดือน/ปีที่พิมพ์: สิงหาคม 2561

จากประเด็นแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นด้วยภัยพิบัติ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การกัดเซำะชำยฝั่ง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการประกอบอาชีพของ ชาวประมงพื้นบ้าน และเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการพัฒนำที่เกิดจาก มนุษย์หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็จะส่งผลกระทบโดยตรงกับระบบนิเวศทำงทะเลและชายฝั่ง อาจจะทำให้สัตว์น้ำบางชนิดสูญพันธ์ ระบบนิเวศเสียหายไม่สามารถทำการผลิตต่างๆ ได้ และท้ายที่สุดชุมชน ชายฝั่งที่พึ่งพาระบบนิเวศเหล่านี้ก็จะเป็นผู้ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อสำรวจสถานการณ์ประเด็นปัญหาและความพร้อมของ อาเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี และ ขับเคลื่อนงานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้าเพชรบุรี ภายใต้บริบทของการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สทอภ. เล็งเห็นถึงความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ต้องให้ความรู้กับภาคประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งบูรณาการวางแผนและกำหนดอนาคตของอ่าวบางตะบูน และร่วมกันเติมเต็ม ข้อมูลและออกแบบแนวทำงการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ (Area-Based Solution) สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมที่เหมาะสม ให้เกิดความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ ของประชาชนในทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่ความสำมัคคี ปรองดองในชาติ

ดาวน์โหลด

ดาวน์โหลด

ดาวน์โหลด

ดาวน์โหลด

ดาวน์โหลด

ดาวน์โหลด

ดาวน์โหลด