โครงการพัฒนาระบบบูรณาการเชิงพื้นที่เพื่อการตัดสินใจแบบองค์รวม (GMOS)

ที่มาโครงการ

ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศในทุกมิติ เพื่อนำพาประเทศก้าวไปสู่ Thailand 4.0 ด้วยการพึ่งพานวัตกรรมหรือองค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเทคโนโลยีเชิงพื้นที่ตาม Area-Based ในการสร้างคุณค่าและประโยชน์กับประเทศชาติ การบูรณาการเครื่องมือเชิงพื้นที่แบบองค์รวมเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการตัดสินใจ ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนแรก ที่เป็นข้อมูลจากเครื่องมือภาคพื้นดินที่ตรวจวัดเฉพาะจุดและตรวจวัดเชิงพื้นที่ระยะไกล ส่วนที่สองเป็นข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม ส่วนที่สามเป็นแผนที่เฉพาะเรื่องในด้านต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำลงไปสู่ทะเลและชายฝั่ง

ข้อมูลเชิงพื้นที่เป็นข้อมูลที่นำไปสู่การตัดสินใจในทุกระดับ โดยจะต้องให้ทันต่อสถานการณ์ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน ฉะนั้นประเทศไทยจำเป็นต้องบูรณาการเครื่องมือและข้อมูลเชิง พื้นที่ที่ต่อยอดจากข้อมูลดาวเทียม และข้อมูลสถานีตรวจวัดอื่น ๆ มารองรับการตัดสินใจ การติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะในด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของหน่วยงานทุกภาค ให้เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ สามารถตอบข้อสงสัยต่าง ๆ ต่อสังคมได้อย่างมีเหตุมีผล ซึ่งการใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่สามารถนำมาติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติและพื้นที่ป่า การติดตามหมอกควันและไฟป่า การติดตามการปลูกพืชเศรษฐกิจ การบริหารจัดการน้ำ การติดตามอุทกภัยการติดตามเฝ้าระวังคุณภาพ น้ำในลำน้ำ ทะเลและชายฝั่ง และสามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลในระดับประเทศได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ. โดยสำนักประยุกต์และบริการภูมิสารสนเทศ ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีการจัดทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ ในหลายมิติ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ยังอยู่แยกจากกัน ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์และนำเสนอในแบบองค์รวมได้โดยสะดวกจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาระบบบูรณาการเชิงพื้นที่เพื่อการตัดสินใจแบบองค์รวมขึ้น เพื่อให้เกิดการรวมข้อมูลจากหลายมิติเข้าด้วยกัน มีการวิเคราะห์แบบข้ามมิติและให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลและส่วนเชื่อมโยงข้อมูลในหลายมิติของสำนักประยุกต์ และบริการภูมิสารสนเทศ ได้แก่ ป่าไม้ เกษตร ภัยพิบัติ (น้ำท่วม ไฟป่า ภัยแล้ง) ทะเลและชายฝั่ง และ ความมั่นคงทางสังคมเข้าด้วยกัน
  2. เพื่อพัฒนาระบบเว็บกลาง สำหรับนำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่ในหลายมิติของ สำนักประยุกต์และบริการภูมิสารสนเทศต่อประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  3. เพื่อพัฒนาส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกจากฐานข้อมูลในหลายมิติของ
    สำนักประยุกต์และบริการภูมิสารสนเทศ

แนวคิดและกรอบการดำเนินงานการบูรณาการเครื่องมือเชิงพื้นที่แบบองค์รวม

ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักประยุกต์และบริการภูมิสารสนเทศ

ให้บริการข้อมูลจากดาวเทียม และ Application ต่างๆ เกี่ยวกับทรัพยากรดิน น้ำ ป่า ทะเลและชายฝั่ง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ พืชเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคม โดยแบ่งส่วนงานเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย

1. สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ

อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ

  • เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม และภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า รวมถึง กำหนดแผนงานและกระบวนการการประมวลผลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และนโยบายของ สทอภ.
  • จัดทำพัฒนาข้อมูลภูมิสารสนเทศด้านสิ่งแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม และภัยพิบัติ รวมถึงการจัดทำฐานข้อมูลสำหรับให้ บริการแก่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านช่องทางหลักของ สทอภ. เพื่อ สาธารณะและเชิงธุรกิจ
  • ดำเนินการประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมสำรวจทรัพยากรเพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับ การตัดสินใจตามภารกิจของหน่วยงานต่าง ๆ ในลักษณะครบวงจร
    (Total Solution) ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม และภัยพิบัติ
  • จัดทำข้อมูลและแผนที่เฉพาะเรื่องในระบบภูมิสารสนเทศจากข้อมูลดาวเทียม เพื่อสนับสนุนภารกิจ ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อมการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ สภาพแวดล้อมและภัยพิบัติ
  • ดำเนินการด้านความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนภาคการศึกษาและภาคเอกชนเพื่อการประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้จากหน่วยงานต่าง ๆ
  • ศึกษา ค้นคว้า ติดตาม ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อนำมา ประยุกต์ ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศสภาพ แวดล้อมและภัยพิบัติ และให้บริการ แนะนำ เผยแพร่สู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ให้คำปรึกษา แนะนำ สอนงาน ส่งเสริม และสนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ เพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงาน และพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ

2. การเกษตร

อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ

  • จัดทำแผนที่พื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญรายแปลงพร้อมกับจัดทำ ทะเบียนเกษตรกร
  • จัดทำ zoning พื้นที่เกษตรกรรมของประเทศ
  • ติดตามพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจของประเทศใกล้เคียง และประเทศคู่แข่ง พร้อมคาดการณ์ผลผลิตพืชเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาล
  • จัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมการเกษตรและระบบ คมนาคมขนส่ง Logistics เพื่อสนับสนุนการวางแผนการบริหารจัดการด้านการ เกษตร
  • พัฒนาแบบจำลอง เพื่อการเตือนภัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการ เกษตร
  • สนับสนุนข้อมูล ระบบและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการวางแผนด้านยุทธศาสตร์ จังหวัด
  • จัดทำและปรับปรุงแผนที่มาตราส่วนใหญ่ เพื่อใช้ประโยชน์ด้านแผนที่ภาษี
  • การให้บริการข้อมูลด้านเศรษฐกิจ คำปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งการ เชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการแลกเปลี่ยนและใช้ ประโยชน์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจร่วมกัน
  • ติดตามสถานการณ์ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพื่อกำหนด แผนงานและกระบวนการการประมวลผลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และนโยบาย ของ สทอภ.
  • จัดทำ และพัฒนาข้อมูลภูมิสารสนเทศด้านการเกษตรประยุกต์ (Smart Farming) สำหรับให้บริการแก่หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสาธารณะและเชิงธุรกิจ
  • พัฒนาและให้บริการระบบฐานข้อมูลเศรษฐกิจ รวมถึงคำปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และพัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสนับสนุนการใช้ประโยชน์ข้อมูลอย่างครบวงจร

3. ทรัพยากรธรรมชาติ

อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ

  • เฝ้าระวัง ติดตามและคาดการณ์สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติทั้ง ทางบก ทางทะเล และชายฝั่ง กำหนดแผนงานและกระบวนการวิเคราะห์ประมวล ผลและจัดทำรายงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์และนโยบายของ สทอภ.
  • จัดทำและพัฒนาข้อมูลภูมิสารสนเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งทางบก ทางทะเล และชายฝั่ง รวมถึงการจัดทำแผนที่และชุดข้อมูลให้บริการแก่หน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเชิงสาธารณะและเชิงธุรกิจ
  • จัดทำและพัฒนาข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติของประเทศในมาตราส่วนใหญ่ พร้อมระบบให้บริการ
  • จัดทำแผนที่ชุดข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติระดับประเทศและระดับท้องถิ่น เพื่อใช้ในการวางแผนด้านยุทธศาสตร์จังหวัด
  • พัฒนาและให้บริการระบบฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงคำปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสนับสนุนการใช้ประโยชน์ข้อมูลอย่างครบวงจร

4. สังคม

อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ

  • สนับสนุนและพัฒนาการใช้ภูมิสารสนเทศเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อบริการสังคม สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนรวมถึงองค์กร ส่วนท้องถิ่น
  • สร้างความตระหนัก เข้าใจ และเผยแพร่บทบาทของภูมิสารสนเทศเพื่อสังคม และประชาชนต่อสาธารณะจัดทำระบบบริการภูมิสารสนเทศ เพื่อสนับสนุน ยุทธศาสตร์จังหวัด
  • พัฒนาภูมิสารสนเทศที่ให้ทุกภาคส่วนได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ตามบทบาทและหน้าที่ของตนเอง
  • พัฒนาภูมิสารสนเทศด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การผังเมือง สาธารณูปโภค การขยายตัวของแหล่งชุมชนและการกลายเป็นเมือง
  • สนับสนุนภูมิสารสนเทศเพื่อภารกิจความมั่นคงประเทศ

5. บริการและผลิตภัณฑ์

อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ

  • ประสาน รวบรวม และวิเคราะห์ความต้องการผลิตภัณฑ์ภูมิสารสนเทศของผู้รับบริการ
  • จัดหาข้อมูลและผลิตภัณฑ์ เพื่อให้บริการแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอก สทอภ.
  • ให้บริการข้อมูลดาวเทียมและข้อมูลภูมิสารสนเทศแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอก สทอภ. ซึ่งรวมถึงการรับใบสั่งจากผู้รับบริการทั้งที่เป็นข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลเพิ่มค่า และในลักษณะ Total Solution
  • จัดทำคู่มือ แนะนำผลิตภัณฑ์ และบริการ รวมถึงการใช้งาน เพื่อให้ผู้รับบริการมีความเข้าใจ และเลือกใช้ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบริการที่เหมาะสม และสามารถนำไปใช้งาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • จัดทำฐานข้อมูลการบริการ ตลอดจน จัดทำใบเสนอราคา และใบแจ้งหนี้
  • ศึกษารายละเอียดทางเทคนิคของข้อมูลดาวเทียมดวงต่าง ๆ ที่ สทอภ. ให้บริการ และพัฒนารูปแบบที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อการบริการ