ตื่นตาตื่นใจ! นักท่องเที่ยวล่องเรือพบ’วาฬบรูด้า’ว่ายน้ำเล่นอวดโฉมบริเวณเกาะสมุย

28 มีนาคม 2565 ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากนายบัณฑิต เสน่หา เจ้าของธุรกิจมิสเตอร์อุ้ง เมจิคัล ซาฟารี ว่าตนเองได้นำนักท่องเที่ยวออกไปตกปลา และได้พบกับภาพที่ตื่นตาตื่นใจขนาดใหญ่คือวาฬบรูด้า ที่มาว่ายเล่นข้างเรือหยอกล่อเล่นกับเรือ ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้ออกทริปตกปลาต่างดีใจที่ได้พบกับวาฬบรูด้าขนาดใหญ่แบบใกล้ชิด

จากการที่พบวาฬบรูด้าครั้งนี้เป็นการพบวาฬบรูด้าที่ใกล้เกาะสมุยมากที่สุด โดยพบวาฬบรูด้าตัวดังกล่าวอยู่ระหว่างเกาะมัดสุมกับเกาะราบ ซึ่งเป็นเกาะบริวารส่วนหนึ่งของเกาะสมุย ในคลิปวาฬบรูด้าได้ขึ้นมาเล่นเหนือผิวน้ำทะเล พบว่าวาฬบรูด้าตัวดังกล่าวมีความยาวประมาณเจ็ดเมตรน้ำหนักกว่าหนึ่งตัน

นายบัณฑิต เสน่หา จ้าของธุรกิจมิสเตอร์อุ้ง เมจิคัล ซาฟารี เปิดเผยว่า ครั้งแรกที่เจอไม่คิดไม่ฝัน ซึ่งครั้งแรกที่พบคิดว่าเป็นปลาโลมาที่มีขนาดเล็กพอเข้าใกล้พบว่าปลาตัวดังกล่าวมีขนาดใหญ่มากความยาว 7 เมตร พบว่ายอยู่ช่วงเกาะมัดสุ่มกลับเกาะราบบริเวณดังกล่าวน้ำมีความลึกไม่เกิน 20 เมตร โดยวาฬบรูด้าตัวดังกล่าวมาเล่นข้างเรือจึงเปิดในกูเกิ้ลค้นหาจึงพบว่าวาฬบรูด้า

ตนคิดว่าการที่พบวาฬบรูด้าดังกล่าวเกิดจากความสมบูรณ์ใต้ทะเลรอบเกาะสมุย ที่สำคัญจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้เรือนำเที่ยวเรือจับปลาลดลงจึงทำให้ไม่มีเสียงเครื่องยนต์ไปรบกวน และที่สำคัญบริเวณดังกล่าวมีความสมบูรณ์เนื่องจากมีปลาขนาดเล็กมาหากิน ทำให้วาฬบรูดาเข้ามาหากินบริเวณดังกล่าวเช่นกัน จึงขอให้นักท่องเที่ยวและชาวประมงหากพบวาฬบรูดา ขออยาเข้าไปใกล้จะเป็นการรบกวนและขอให้ดูอยู่ห่างๆ

นายคฑา พงศ์ฉบับนภา เลขาชมรมประมงพื้นบ้านละไม กล่าวว่า การพบวาฬบรูด้าตัวดังกล่าวเป็นสัญญาณที่ดี เพราะว่าการเข้ามาหากินบริเวณดังกล่าวเนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ ปกติจะไม่มีใครพบวาฬบรูด้าบริเวณดังกล่าวใกล้เกาะสมุย จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวคนไทยและต่างชาติมาท่องเที่ยวเกาะสมุยช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายนจะเป็นช่วงที่ทะเลรอบเกาะสมุยน่าเที่ยวมากที่สุด

สำหรับพื้นที่ทะเลอ่าวไทยพบว่าเป็นแหล่งอาศัยและศึกษาเกี่ยวกับวาฬบรูดาแหล่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย โดยถือว่าเป็นสัตว์ประจำถิ่นบรเวิณอ่าวไทยไปแล้ว ซึ่งพบจำนวนประชากรวาฬบรูด้าจำนวน 2-20 ตัว มีขนาดที่แตกต่างกัน ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนประชากรวาฬบรูด้าประมาณ 35 ตัว ได้มีการจำแนกอัตลักษณ์ได้แล้วกว่า 30 ตัว พร้อมกับมีการตั้งชื่อ เมื่อสำรวจพบวาฬจะมีการจำแนกอัตลักษณ์ของวาฬแต่ละตัวด้วยวิธีการถ่ายภาพ ศึกษาตำหนิบริเวณครีบหลังเป็นจุดหลัก และใช้ตำหนิระบุ เช่น ตำหนิตามลำตัว หัว ปาก ซี่กรอง และหาง มาประกอบเป็นต้น

♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦

เเหล่งข่าว

แนวหน้า