ชาวประมงพื้นบ้าน จ.ระยอง พร้อมใจกันนำเรือกว่า 400 ลำ ลอยกลางทะเล ส่งเสียงสะท้อนไปยังรัฐจากโครงการถมทะเลเฟส 3 ห่วงกระทบการทำมาหากินซ้ำเติมพิษ COVID-19

ภาพเรือประมงพื้นบ้านหลายร้อยลำ ลอยลำอยู่กลางทะเลหน้าหาดตากวน อ.เมืองระยอง นับเป็นการรวมตัวกันครั้งแรกของกลุ่มประมงพื้นบ้านที่ลุกขึ้นมาแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เรียกร้องให้เยียวยาผลกระทบโครงการถมทะเลเฟส 3

นายศรีนวล อักษรศรี ประธานกลุ่มประมงบ้านตากวน ประธานกลุ่มประมงบ้านตากวน ยืนยันว่า การรวมตัวของเรือประมงพื้นบ้านในครั้งนี้ ไม่ใช่การประท้วงปิดอ่าว หรือ คัดค้านการก่อสร้างโครงการถมทะเลมาบตาพุด เพียงแต่ต้องการให้เห็นถึงความยากลำ ที่เรือทุกลำ ยังต้องทำมาหากิน ท่ามกลางการพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19

การถมทะเลมาบตาพุดเฟส 1 และเฟส 2 ชาวประมงถูกยึดพื้นที่ทำมาหากินในทะเลมาบตาพุด โดยไม่มีการเยียวยา แต่เมื่อขยับไปหากินในถิ่นทะเลแห่งใหม่ ก็จะมาเผชิญถมทะเลเฟส3อีก ทำให้ต้องแสดงพลัง ส่งเสียงไปยังภาครัฐให้หันมาดูแล เยียวยา ให้กับชาวประมงที่ไม่สามารถเปลี่ยนวิถีประมงที่เคยทำมาตั้งแต่บรรพบุรุษได้ “ไม่ได้ต่อต้าน คัดค้านโครงการรัฐบาล แต่ไม่ถมได้หรือไม่ ถ้าให้เลิกประมงแล้วจะไปทำอาชีพอะไร และอยากขอให้เยียวยาเราเถอะ”

ด้านนายละม่อม บุญยงศ์ ประธานกลุ่มประมงก้นปึก บอกว่า สถานการณ์โควิดชาวประมง ก็เดือดร้อนกันอย่างหนักเพราะนอกจากจะขายของไม่ได้ สัตว์น้ำก็หาได้ยาก เพราะการระบาดครั้งนี้ รุนแรงกว่าทั้งสองครั้งที่ผ่านมา หากติดเชื้อดหรือต้องถูกกักตัว 14 วัน จะทำให้ครอบครัวได้รับความเดือดอย่างหนัก “อยากบอกนายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร ลงมาดูแล เพราะชาวประมงเดือดร้อนทั้ง COVID-19 และการทำมาหากิน กลัวต้องถูกกักตัว ถ้าออกหากินไม่ได้จะกระทบกับคนในครอบครัว แล้วแล้วจะทำกันอย่างไร”

เมื่อวันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา สมาชิกกลุ่มประมง 9 กลุ่ม ยื่นหนังสือเรียกร้องกับนายเริงฤทธิ์ กุศลกรรมบถ ผู้อำนวยการสำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ให้นำไปทบทวน และแก้ไขปัญหาให้กับชาวประมง เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือ เยียวยาชาวประมงเรือเล็กพื้นบ้าน ที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างมากเหตุถมสร้างท่าเรือเฟส 3 กว่า 1,000 ไร่ โดยชาวประมงต้องการให้นำแนวทางของการท่าเรืออุตสาหกรรมแหลมฉบัง มาเป็นโมเดลในการเยียวยาให้กับชาวประมงตามสัดส่วนของความเดือดร้อน และระยะเวลาในการดำเนินการ

♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦

แหล่งข่าว