“ป่าพรุ” เป็นป่าลักษณะพิเศษ เป็นป่าไม้ทึบไม่ผลัดใบประเภทหนึ่ง มีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นปะปนกัน ส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ที่ไม่ได้ขึ้นบน“ดินพรุ”ที่เกิดจากสะสมตัวของซากอินทรีย์วัตถุ ป่าพรุมีลักษณะเด่นที่สำคัญยิ่ง คือ เป็นป่าดงดิบที่มีน้ำท่วมขังอยู่ตลอด สำหรับหนึ่งในป่าพรุผืนสำคัญยิ่งของเมืองไทยก็คือ “ป่าพรุโต๊ะแดง” ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันมีเนื้อที่กว่า 120,000 ไร่ (มีส่วนที่สมบูรณ์จริงๆประมาณ 50,000 ไร่) ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอในจังหวัดนราธิวาส ได้แก่ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดี และอำเภอบาเจาะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พรุโต๊ะแดง ป่าเดียว น้ำเดียว ในแดนดิน                                               โต๊ะแดง เป็นป่าพรุขนาดใหญ่ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ผืนสุดท้ายของเมืองไทย

อย่างไรก็ดีทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน ป่าพรุโต๊ะแดงและบริเวณใกล้เคียงได้ถูกทำลายลงจากน้ำมือมนุษย์ ทั้งจากการบุกรุกแผ้วถางป่าพรุ การทำการเกษตรที่ผิดวิธี การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าพรุอย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ รวมถึงการเกิดไฟป่า(ที่มีทั้งเกิดจากธรรมชาติและฝีมือมนุษย์) ส่งผลให้ป่าพรุโต๊ะแดงและป่าพรุอื่นๆในจังหวัดนราธิวาส ถูกทำลายกลายเป็นป่าเสื่อมโทรม ใช้ประโยชน์ได้เพียงส่วนน้อย จากสถานการณ์ไฟป่า พรุโต๊ะแดงเดือน พฤษภาคม นั้น น่าจะเกิดมาจากชาวบ้านเผาที่ เพื่อให้กลายเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม จะทำให้รัฐนำมาจัดสรรเป็นพื้นที่เพื่อการเกษตร

https://mgronline.com/travel/detail/9590000110516

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ได้นำระบบภูมิสารสนเทศโดยใช้ข้อมูลดาวเทียม sentinel-2 และ Landsat- 8  มาทำการวิเคราะห์ และติดตามสถานการณ์ไฟป่าพรุโต๊ะแดง บริเวณอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส และพื้นที่ที่ได้รับผล กระระทบจากการเกิดไฟป่าพรุโต๊ะแดง  บริเวณที่เกิดกลุ่มควัน และบริเวณพื้นที่เผาไหม้ โดยวิเคราะห์จากดาวเทียมแสดงพื้นที่เผาไหม้มากกว่า 1,500 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่เผาไหม้ วันที่ 18 พฤษภาคม 2563 จำนวน 350 ไร่  มีพื้นที่เผาไหม้ วันที่  23 พฤษภาคม 2563  จำนวน 1,220 ไร่ และวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 จำนวน 1,730 ไร่

ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 วันที่ 18 พฤษภาคม 2563 ,วันที่ 23 พฤษภาคม 2563 และข้อมูลดาวเทียม Landsat-8 วันที่ 27 พฤษภาคม 2563